วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

เพราะนาฏศิลป์ไทยในปัจจุบันหาได้ยากในกลุ่มวัยรุุ่นเยาวชนไทย ซึ่งอาจจะด้วยความเปลี่ยนแปลงของความนิยมในปัจจุบัน มีวัฒนธรรมของต่างประเทศเข้ามามากมายทำให้เยาวชนหันไปสนใจกับความนิยมเหล่านั้น ข้าพเจ้าจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้านที่บรรพบุรษไทยของเราได้สืบทอดกันมาอย่างยาวนานกำลังจะสูญหายไป หากวัฒนธรรมอันสวยงามและมีคุณค่าของเราสูญหายไปเราจะทำอย่างไร? ความสวยงามที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจะหายไปหากเราไม่เก็บรักษาเอาไว้ อนาคตอยู่ที่เยาวไทยคนรุ่นใหม่






การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน คือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอีสาน เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบต่อมาจวบจนปัจจุบัน มีดนตรี การแต่งกาย มีการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหมือนกับเป็นการบอกตัวตนวิถีชีวิตที่ดำเนินมา จริงๆแล้วภาคอีสานจะแบ่งเป็นภาคอีสานเหนือและภาคอีสานใต้ ซึ่งการละเล่นและการฟ้อนรำจะมีความแตกต่างกันอยู่
 
 
 
 
  • กลุ่มอีสานเหนือ  มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า  เซิ้ง   ฟ้อน  และหมอลำ”  เช่น  เซิ้งบังไฟ  เซิ้งสวิง  ฟ้อนภูไท  ลำกลอนเกี้ยว  ลำเต้ย  ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ  ได้แก่  แคน  พิณ  ซอ กลองยาว ฉิ่ง  ฉาบ  ฆ้อง 

 

ฟ้อนภูไท 3 เผ่า


 

รำกลอนเกี้ยว
 
 
  •   กลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร   มีการละเล่นที่เรียกว่า  เรือม  หรือ เร็อม  เช่น  เรือมลูดอันเร  หรือรำกระทบสาก  รำกระเน็บติงต็อง  หรือระบำตั๊กแตนตำข้าว วงดนตรี  ที่ใช้บรรเลง คือ  วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี  คือ  ซอด้วง  ซอด้วง  ซอครัวเอก  กลองกันตรึมพิณ  ระนาด  ปี่สไล  กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ

รำกระทบสาก
 
 ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนานและกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย  การฟ้อนรำพื้นบ้านก็เหมือนกับเป็นการแสดง ตัวตน ความสามัคคีและเป็นการแสดงความรักที่มีต่อบ้านที่ตนอยู่ นอกจากการฟ้อนรำพื้นบ้านอีสานจะเป็นฟ้อนรำเพื่อความสวยงามแล้ว ยังเป็นการฟ้อนรำเพื่อเป็นการแสดงความเคารพรักต่อสิ่งศักสิทธิ์ที่ตนนับถืออีกด้วย ส่วนดนตรีที่ใช้ในการประกอบการฟ้อนรำจะเป็นเครื่องดนตรีที่มาจากการเลียนเสียงของธรรมชาติ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน เมื่อก่อนนั้นการฟ้อนรำจะเป็นการละเล่นของชาวบ้าน และยังนำการฟ้อนรำมาเข้าร่วมพิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล หรือในวาระโอกาสงานต่างๆ
 
 
 
 
  • การแต่งกายของภาคอีสานนั้นจะมีลักษณะเด่นชัดเจนอาจจะเป็น ผ้าขาาวม้า, ผ้าซิ่น เป็นต้น ที่ทอโดยภูมิปัญญาของชาวบ้านเพราะว่าการทอผ้านั้นถือเป็นงานอดิเรก กิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานอื่นๆ
    บ้านทุกหลังใต้ถุนบ้านนั้นจะมีหูกทอผ้า ชาวบ้านก็จะใช้สิ่งเหล่านนั้นมาแต่งกายในงานแสดงต่างๆ รวมไปถึงเครื่องประดับของชาวอีสานที่ใช้นั้นจะเป็น เครื่องเงิน เพราะเครื่องทองจะใช้เฉพาะนาฏศิลป์ไทยเท่านั้น โดยนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานจะมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง




     

1.คุณครู เพ็ญประภา  วงชมภู  เป็นคุณครูชมรมนาฎศิลป์โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม  อ.พล จ.ขอนแก่น

2.คุณครู กาญจนา  บุญศรี  คุณครูสอนรำนาฏศิลป์ โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อ.พล จ.ขอนแก่น

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก


1.หนังสือเรียยน ดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ



ผู้เรียบเรียง  รศ.สุมนมาลย์  นิ่มเนติพันธ์และคณะ



ผู้ตรวจ  ผศ. กฤษณา  บัวสรวงและคณะ



บรรณาธิการ  ดร.มนัส  แก้วบูชาและคณะ


พิมพ์ครั้งที่สงวนลิขสิทธ์ตามพระราชบัญญัติ isbn 978-616-203-284-4 

พิมพ์ที่  บริษัท ไทยร่มเกล้า อจำกัด  โทร.0-29039101-6  www.aksorn.com

 

2.หนังสือเรียน ดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ผู้เรียบเรียง  รศ.สุมนมาลย์  นิ่มเนติพันธ์และคณะ

ผู้ตรวจ  ผศ. กฤษณา  บัวสรวงและคณะ

บรรณาธิการ  ดร.มนัส  แก้วบูชาและคณะ

พิมพ์ครั้งที่สงวนลิขสิทธ์ตามพระราชบัญญัติ isbn 978-616-203-284-4 

พิมพ์ที่  บริษัท ไทยร่มเกล้า อจำกัด  โทร.0-29039101-6  www.aksorn.com

 

3. บล๊อก  ชมรมศิลปวัฒนธรรม จุฬาลวกรณ์มหาวิทยาลัย

http://www.isan.clubs.chula.ac.th/th/index.php

 


นางสาว มนัสวีร์  บุตรวงศ์

 
 
 
 
 
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
5200355โดย ManatsaveeBootwong อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NoDerivatives 4.0 International.